Plant-based food คืออะไร? ทำไมสุขภาพดีแถมช่วยลดโลกร้อน?

plant based คืออะไร

เมื่อโลกสมัยใหม่มนุษย์เรามีอาหารหลากหลายชนิด อาหารจากพืช หรือ Plantbased food” ก็เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่เริ่มมีการพูดถึงเพื่อสนับสนุนเหตุผลทางด้านสุขภาพ หรือเหตุผลทางด้านสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ค่านิยมดั้งเดิมในการรับประทานอาหารของมนุษย์คือ “กินเพื่ออยู่” แต่ในโลกสมัยใหม่ การกินมีเหตุผลมากกว่าการกินเพื่อดำรงชีวิต อย่างไรก็ตามเทรนด์การรับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก ไม่ได้เพิ่งถือกำเนิดในช่วงทศวรรษปีมานี้ แต่เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น วีแกน มังสวิรัติ และอาหารเจ สำหรับอาหารจากพืช (Plant-based food) เป็นอาหารทางเลือกใหม่ที่เข้ามาเปิดประตูการรับประทานเพื่อสุขภาพ

Plant-based food และ plant-based diet คืออะไรกันแน่? 

Plant-based diet คือระเบียบการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยการเน้นรับประทานอาหารจากพืช (Plant-based food) ยกตัวอย่างเช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว และเนื้อสัตว์จำลองที่ทำจากพืช 100 เปอร์เซ็นต์ การเริ่มต้นรับประทาน Plant-based diet เป็นการปรับมื้ออาหารให้มีพืชเป็นองค์ประกอบเยอะขึ้น รับประทานโปรตีนจากพืชแทนเนื้อสัตว์ ลดเกลือ น้ำตาล และเลือกใช้ไขมันจากพืชที่ดีต่อสุขภาพเช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น 

ความเหมือนและความต่างของ อาหารจากพืช วีแกน มังสวิรัติ และ เจ   

ทั้งอาหารจากพืช (Plant-based food) วีแกน มังสวิรัติ และ เจ ล้วนเป็นลักษณะการรับประทานอาหารที่เน้นการรับประทานทานพืชเป็นองค์ประกอบหลัก แต่การทานอาหารทั้ง ประเภทมีรายละเอียดในแง่ของการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์บางชนิดและคตินิยมที่แตกต่างกัน ดังนั้นมาทำความรู้จัก วีแกน มังสวิรัติ และเจกันก่อนดีกว่า 

  • วีแกน (Vegan)

    เป็นการรับประทานอาหารที่ละเว้น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกชนิด ทั้งเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์จำพวกไข่และนม รวมไปถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารอย่างเสื้อผ้า เนื่องจากการรับประทานแบบวีแกนมีปรัชญาที่ต้องการหลีกเลี่ยง ลดทอน กีดกันการทารุณกรรมสัตว์และการแสวงหาผลประโยชน์จากสัตว์ 

  • มังสวิรัติ (Vegetarian)

    เป็นการรับประทานอาหารจากพืชที่มีการแบ่งชนิดและสิ่งที่รับประทานได้หลากหลายประเภท ตามจุดประสงค์ของแต่ละบุคคล  การรับประทานอาหารแบบมังสวิรัติมีปรัญชาที่ใกล้เคียงกับวีแกน แต่มังสวิรัติบางประเภทก็อนุญาตให้ทานไข่และปลาได้ ส่วนบางประเภทก็อนุญาตให้รับประทานผลิตภัณฑ์จำพวก นม เนย และชีสได้

  • เจ

    เป็นการรับประทานอาหารที่ละเว้นเนื้อสัตว์ตามคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งเราอาจคุ้นเคยกับการทานอาหารประเภทนี้ช่วงเทศกาลถือศีลกินเจทุกปี อย่างไรก็ตามเจถูกจัดอยู่ในการกินแบบมังสวิรัติ แต่ก็มีข้อปฏิบัติที่ยึดโยงกับศาสนาอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง 

จะเห็นได้ว่าการรับประทานอาหารทั้ง 3 ประเภทมีพืชเป็นองค์ประกอบหลัก อาหารจากพืช (Plant-based food) จึงเป็นคำจำกัดความประเภทอาหารของ วีแกน มังสวิรัติ และ เจ แต่การรับประทานที่เน้นอาหารจากพืช (Plant-based diet) เป็นการเลือกรับประทานเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ จึงยังไม่มีคตินิยมและกฏเกณฑ์ที่ชัดเจนเหมือน วีแกน ส่วนการตระหนักรู้ถึง การทารุณกรรมสัตว์และสิ่งแวดล้อม เป็นผลพลอยได้จากการรับประทานอาหารจากพืช ซึ่งผู้ที่รับประทานอาหารจากพืชสามารถผันตัวเข้าสู่การรับประทานแบบวีแกน หรือมังสวิรัติในภายหลังได้เช่นกัน 

 

อาหารจากพืช

นวัตกรรมเนื้อจากพืช (Plant-based meat) ตัวเลือกของคนชอบทานเนื้อสัตว์  

การรับประทานอาหารจากพืชอาจจะฟังดูไกลตัวสำหรับคนทั่วไปที่ทานอาหารหลากหลายทั้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เนื้อจากพืชจึงเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยให้การทาน Plant-based food ง่ายขึ้น เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่เพียงแต่ทำให้เนื้อจากพืช (Plant-based meat) มีหน้าตาดูเหมือนเนื้อสัตว์อย่างเดียว แต่ยังมีรสชาติที่ใกล้เคียงอีกด้วย นวัตกรรมนี้ทำให้อาหารจากพืชมีรสชาติที่อร่อยและเข้าถึงง่ายขึ้น โดยปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายแบบให้เลือกสรร ทั้งหมู เนื้อ ไก่ กุ้ง  แฮม เบคอน ไปจนถึงเมนูสำเร็จรูป จึงทำให้การรับประทานอาหารจากพืชไม่ใช่เรื่องยากหรือไกลตัวอย่างที่คิด  

ประโยชน์ของ อาหารจากพืช (Plant-based food) เอกลักษณ์ที่ไม่ควรมองข้าม  

เนื่องจากการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ทำให้เกิดการลดไขมันจากเนื้อสัตว์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อร่างกายดังนี้ 

  • ระบบขับถ่ายดีขึ้น

    เนื่องจากไฟเบอร์เป็นเส้นใยอาหารพบได้มากในพืชที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป การรับประทานอาหารจากพืช (Plant-based food) จึงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี 

  • ลดน้ำหนัก 

    ธัญพืชและผักไม่ขัดสีส่วนใหญ่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำและมีไฟเบอร์สูง ทำให้ร่างกายย่อยได้ช้าและรู้สึกอิ่มท้องนาน  

  • ดีต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต

    เนื่องจากพืชเป็นสิ่งที่ไม่มีคอเรสเตอรอล และมีไขมันอิ่มตัวบางชนิดเท่านั้น จึงมีส่วนช่วยการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้นดังนี้ 

    • รักษาระดับคอเรสตอรอล 

      เมื่อระดับคอเรสเตอรอลไม่สูงจนเกินไป ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในเลือดก็จะลดลง ระบบไหลเวียนเลือดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ้มากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง  

    • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

      เนื้อสัตว์เป็นอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวอยู่มาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตหากรับประทานมากเกินไป ในวารสารที่ตีพิมพ์โดย สมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2019 ระบุว่าการรับประทานพืชเป็นส่วนประกอบหลักช่วยให้ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจได้ถึงร้อยละ 16  

  • ป้องกันโรคเบาหวาน  

จากการศึกษาของ PLos Medicine ในปี 2016 พบว่า อาหารจากพืช (Plant-based food) ช่วยป้องกันโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ถึงร้อยละ 34 และยังเป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถรับประทานได้หากเลือกวัตถุดิบอย่างถูกต้อง 

อาหารจากพืช

Plant-based food มากกว่าสุขภาพดีคือการได้ช่วยลดโลกร้อน  

การลดการบริโภคเนื้อสัตว์จะทำให้พื้นที่เกษตรกรรมเพื่อปศุสัตว์ พื้นที่ปศุสัตว์ อุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์และนมลดลงไปด้วย เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมีพื้นที่กว้างขวางและมีการขยายพื้นที่มากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชากรในโลกที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี นำไปสู่การถางพื้นที่ป่าเพื่ออุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งส่งผลเสียต่อดิน น้ำ การสูญเสียที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ  

จากรายงานของ Nature food ประเทศสหราชอาณาจักร เกษตรกรรมผลิตอาหารเพื่อปศุสัตว์ และปศุสัตว์แบบปล่อยทุ่งผลิตก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 57 การผลิตอาหารจากพืช (Plant-based food) จึงเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยลดโลกร้อนได้ เพราะระบบผลิตอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และเบอรี่ ไม่มีการปล่อยก๊าซมีเทนจากมูลสัตว์ ซึ่งก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกประเภทหนึ่ง ดังนั้นการรับประทานอาหารจากพืช จึงมีส่วนช่วยในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ 

สรุป  

ปัจจุบันเรามีอาหารจากพืช (Plant-based food) เป็นตัวเลือกในการรับประทานอาหาร แต่เนื้อสัตว์ก็ยังเป็นโภชนาการพื้นฐานของมนุษย์อยู่ การลดพื้นที่ปศุสัตว์จึงยังเกิดขึ้นได้น้อยในปัจจุบัน แต่วิทยาการอาหารจากพืชยังพัฒนาต่อไปเพื่อที่สักวันอาหารจากพืชอาจจะเข้ามาแก้ปัญหาโลกร้อนได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามประโยชน์ด้านสุขภาพก็เป็นสิ่งที่คนในปัจจุบันมองหา อาหารจากพืชจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีให้เลือกหลายหลายและยังดีต่อสุขภาพ 

Table of Contents

You May Also Like

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็ก ควรคุ้มครองอะไรบ้างในปี 2567

ด้วยค่ารักษาโรงพยาบาลและค่าแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กที่มอบความคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสมัยนี้ และแน่นอน ในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย บางครั้งอาจจะเลือกยากว่าควรเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี วันนี้ทาง LUMA เลยอยากจะมาชี้แจงให้เข้าใจกันแบบชัดๆ ง่ายๆ ว่า ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครองอะไร และ ตรงไหนที่ควรให้ความสำคัญ ค่ารักษาผู้ป่วยใน ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เรียกอีกชื่อว่า Inpatient Care หรือ …