สมองล้า ภาวะที่สมองประมวลผลได้ช้าลง หนึ่งในอาการหลังติดโควิด – 19

สมองล้า

เคยเป็นไหม อาการหลง ๆ ลืม ๆ จำอะไรไม่ค่อยได้ ตัดสินใจอะไรก็ช้าลงกว่าปกติ หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจจะเข้าข่ายภาวะสมองล้า โดยภาวะที่เรียกว่าสมองล้า เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและการรับรู้ มีสาเหตุมาจากปัจจัยที่ไม่แน่นอน และพบมากในกลุ่มคนที่เคยป่วยโควิด – 19 มาก่อน ซึ่งสมองล้าเป็นหนึ่งในอาการของลองโควิด (Long Covid) นั่นเอง   

สมองล้าคืออะไร  

สมองล้า (Brain Fog) เป็นหนึ่งในอาการของภาวะโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่าลองโควิด (Long Covid) ภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น จากงานวิจัยพบว่า 43% ของกลุ่มผู้ป่วยโควิด – 19 บางส่วนมีภาวะสมองล้า โดยงานวิจัยพบว่าการป่วยโควิด – 19 ส่งผลต่อระบบสมองและระบบประสาทในกลุ่มผู้ป่วยบางส่วน

คำว่า “สมองล้า” เป็นคำที่ไม่ได้ถูกบัญญัติให้เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์โดยตรง แต่สมองล้าเป็นคำอธิบายอาการที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ และการรับรู้ต่าง ๆ เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ รู้สึกงงงวยสับสนบ่อยครั้ง รวมไปถึงกระบวนการคิดและตัดสินใจได้ช้าลง และภาวะสมองล้ายังมีอาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ หรือสุขภาพ เป็นต้น 

ลองโควิด

สมองล้า อาการเป็นอย่างไรบ้าง  

อาการของภาวะสมองล้าอาจจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านสุขภาพและปัจจัยด้านอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปแล้ว ภาวะสมองล้าสามารถแบ่งอาการออกได้ ดังนี้  

  • รู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา  
  • ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ช้าลง  
  • สมองประมวลผลและสั่งการได้ช้าลง 
  • ไม่ค่อยมีสมาธิ โฟกัสได้ช้าลง  
  • นึกคำศัพท์ที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันไม่ค่อยออก  

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้า   

สมองล้าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ไม่มีสาเหตุที่ชี้ชัดอย่างชัดเจนว่าภาวะสมองล้ามาจากสาเหตุใด โดยสมองล้ามีสาเหตุมาจากปัจจัยเหล่านี้   

  • ลองโควิด (Long COVID) – การทดลองในงานวิจัยของนักวิจัยชาวเยอรมันพบว่า ผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด – 19 ที่ไม่ได้มีอาการหนักมาก หรือตามการจำแนกของกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขเรียกว่าเป็นผู้ป่วยระดับสีเขียว โดยผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้ที่มีอาการความบกพร่องสมรรถนะทางสมอง (Cognitive Impairment) แต่เมื่อกลุ่มตัวอย่างหายจากการติดเชื้อโควิด – 19 กลุ่มตัวอย่างมีความจำแย่ลงและระบบการคิดหรือตัดสินใจสามารถทำได้ช้าลง ขณะที่ติดเชื้อโควิด – 19 อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายได้รับผลกระทบ รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง ที่เป็นอาการตีบของเส้นเลือดในสมองที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท เมื่อร่างกายหายจากอาการดังกล่าว ผู้ป่วยบางรายจึงมีอาการลองโควิดที่แตกต่างกันออกไป บางรายมีอาการไอบ่อยขึ้น เหนื่อยง่ายขึ้น และหนึ่งในนั้นคือการเกิดขึ้นของภาวะสมองล้า เนื่องจากอาการตีบของเส้นเลือดในสมองยังไม่สามารถหายได้อย่างถาวร หรือฟื้นฟูร่างกายให้กลับไปมีสภาพเหมือนก่อนติดโควิดได้อย่างสมบูรณ์ 

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ – เมื่ออยู่ในภาวะที่อินซูลินในเลือดและน้ำตาลไม่สมดุลกัน จะส่งผลให้เกิดภาวะสมองล้าได้ง่าย 

  • โรคประจำตัวต่าง ๆ  – ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
    โรคสมองเสื่อม 
    ฯลฯ บางรายจะมีอาการสมองล้าร่วมด้วย 

  • ร่างกายขาดสารอาหาร  – เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่มีสารอาหารไปหล่อเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอ จึงมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดภาวะสมองล้าได้ เช่น ร่างกายขาดวิตามิน B12 หรือร่างกาย ขาดแคลเซียม เป็นต้น  

  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ – การไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างไม่เพียงพอ จะส่งให้สมองไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่
    มีแนวโน้มที่จะส่งให้เกิดภาวะสมองล้าได้

  • ความเครียดและอารมณ์ – ความเครียดเรื้อรังเป็นหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลต่อสมองล้า โดยความเครียดเป็นปัจจัยนำที่ส่งผลให้เกิดภาวะสมองล้า เมื่อสมองถูกความเครียดกระตุ้น จึงส่งผลให้ระบบประสาทได้รับผลกระทบ 

สมองล้า

รับมืออย่างไรหากรู้ตัวว่ามีอาการสมองล้า

ภาวะสมองล้าไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งแตกต่างจากการรักษาโรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่สามารถรับประทานยา หรือใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะสมองล้าได้ ดังนี้   

  • ลดความเครียด – พยายามไม่ทำให้ตัวเองเครียดมากเกินไป พยายามฝึกจัดการความเครียด และสำหรับความเครียดที่ไม่สามารถจัดการได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ   

  • ใช้เวลากับผู้อื่นมากขึ้น – หากมีเวลาว่างควรจัดสรรเวลาไปกินข้าวกับเพื่อน เที่ยวกับครอบครัวหรือออกไปทำกิจกรรมกับผู้อื่นมากขึ้น   

  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ – การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ จะช่วยส่งผลให้สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของคุณดีขึ้น   

  • พักผ่อนให้เพียงพอ – การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนมองข้ามไป หากคุณได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยให้คุณพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ สมองสามารถประมวลผลได้ดียิ่งขึ้น  

  • ขยับตัวอยู่ตลอดเวลา – ออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเที่ยวในช่วงวันหยุด ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา การขยับตัวอยู่ตลอดเวลาจะช่วยให้สมองทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาจะส่งผลให้สมองได้ทำงาน ยืดระยะความเสื่อมของสมองออกไปได้อีก   

  • วางแผนกิจวัตรประจำวันล่วงหน้า – การวางแผนกิจวัตรประจำวันจะช่วยให้คุณมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตมากขึ้น อีกทั้งยังดีต่อสมอง เพราะการวางแผนกิจกรรมหรือบันทึกกิจกรรมที่ทำไปในแต่ละวันว่าทำกิจกรรมใดบ้างในแต่ละวัน  

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ – การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อระบบประสาทที่นำไปสู่ภาวะสมองล้าและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ 

สมองล้า หนึ่งในอาการที่คิดหรือตัดสินใจได้ช้ากว่าปกติ สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง ว่าระบบการคิดหรือการตัดสินใจของตนเองประมวลผลได้ช้าลง ซึ่งภาวะสมองล้าสามารถเกิดขึ้นได้จาหลายปัจจัยอย่างไม่มีสาเหตุแน่นอน หลัก ๆ คือมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเครียด รวมไปถึงเป็นผลกระทบจากลองโควิด (Long Covid) 

สมองล้ายังสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้สมองมีการตื่นตัวและพัฒนา หากภาวะสมองล้ามีอาการแย่ลงจนถึงขั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน  เช่น ความทรงจำแย่ลงและไม่สามารถจำรายละเอียดสิ่งต่าง ๆ ได้ หรือการคิดและการตัดสินใจอย่างช้าลงที่ส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน ฯลฯ ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะสมองล้า ที่อาจจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุหรือโรคภายในอนาคตได้ 

Table of Contents

You May Also Like

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็ก ควรคุ้มครองอะไรบ้างในปี 2567

ด้วยค่ารักษาโรงพยาบาลและค่าแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กที่มอบความคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสมัยนี้ และแน่นอน ในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย บางครั้งอาจจะเลือกยากว่าควรเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี วันนี้ทาง LUMA เลยอยากจะมาชี้แจงให้เข้าใจกันแบบชัดๆ ง่ายๆ ว่า ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครองอะไร และ ตรงไหนที่ควรให้ความสำคัญ ค่ารักษาผู้ป่วยใน ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เรียกอีกชื่อว่า Inpatient Care หรือ …